วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

โรคเลือดจางกรรมพันธุ์

โรคเลือดจางกรรมพันธุ์

มีโรคเลือดจางเรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่ทำให้ใบหน้าผู้ป่วยมีลักษณะคล้ายคลึงกัน  คือหน้าผากโหนก  ดั้งจมูกแบน  ฟันบนยื่นเหยิน  หัวโต  ตาเหลือง และตัวเตี้ยแคระแกร็น  เราเรียกว่าโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย   เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ โดยทั้งพ่อและแม่อาจจะไม่ล่วงรู้มาก่อนเลย ว่าตนเองมีกรรมพันธุ์นี้แฝงอยู่   

มีข้อมูลระบุว่าประเทศไทยมีเด็กเกิดใหม่เป็นโรคเลือดจางนี้เฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน  ซึ่งหากตั้งครรภ์โดยไม่มีการวางแผนล่วงหน้า  เด็กธาลัสซีเมียคนต่อไปอาจเป็นลูกหรือหลานท่านได้   ธาลัสซีเมียพบได้ทั่วโลก  แต่ที่พบมากคือในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้    ซึ่งสหพันธ์ธาลัสซีเมียนานาชาติ ได้กำหนดให้วันที่ พฤษภาคม  เป็น วันธาลัสซีเมียโลก ตั้งแต่ปี 2545   
  

ธาลัสซีเมียเกิดจากความผิดปกติของยีนที่ควบคุมการสร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง  ทำให้เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่าปกติ  โดยธาลัสซีเมียมี แบบ คือ

v  แบบที่เป็นโรค  ผู้ป่วยจะมีอาการซีดเรื้อรังจากเม็ดเลือดแดงอายุสั้น และถูกม้ามจับทำลายมากกว่าปกติ   ผู้ป่วยจะมีอาการมากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของกรรมพันธุ์ที่ได้รับมาจากพ่อและแม่   หากรุนแรงมากจะตายตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือหลังคลอดไม่เกิน 1 วัน  โดยขณะที่แม่ตั้งครรภ์อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอันตราย  เช่นครรภ์เป็นพิษได้    ธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง จะสังเกตอาการได้ชัดเจนตั้งแต่อายุ3-6 เดือน   เด็กจะงอแง  เลี้ยงยาก  เจ็บป่วยบ่อย  อ่อนเพลีย  ท้องป่องเนื่องจากตับม้ามโต และซีดมากต้องได้รับการเติมเลือดเป็นประจำ  ชนิดปานกลางและรุนแรงน้อย  ผู้ป่วยจะมีอาการซีดมากเมื่อมีไข้

ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเลือดจางธาลัสซีเมียประมาณร้อยละ ของประชากร หรือมากกว่า 6 แสนคน และเนื่องจากโรคนี้รักษาไม่หายขาด นอกจากการปลูกถ่ายไขกระดูกซึ่งมีวิธีการที่ยุ่งยากซับซ้อน และมีข้อจำกัดมากมาย   การรักษาโดยทั่วไปจึงเป็นการรักษาตามอาการแทรกซ้อนต่างๆ   เช่น   การให้เลือด  การให้ยาขับเหล็ก หรือการผ่าตัดม้าม   เป็นต้น

v  แบบที่เป็นพาหะหรือแฝง คือคนที่มีกรรมพันธุ์โรคนี้แฝงอยู่ในร่างกาย  มีสภาพร่างกายปกติ  แข็งแรงดี   แต่สามารถถ่ายทอดกรรมพันธุ์ที่ผิดปกตินี้ไปสู่ลูกได้   โดยพบว่าคนไทยเป็นพาหะธาลัสซีเมียมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก  คือ 1 ใน 4 ของประชากร หรือร้อยละ 30-40  ซึ่งคิดคร่าวๆ ประมาณ 20-25 ล้านคน



แน่นอนว่า หากมีการตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตรวจเลือดหาภาวะธาลัสซีเมีย   เด็กที่เกิดใหม่อาจเป็นโรคเลือดจางนี้ก็ได้   ไม่ว่าจะมีญาติเป็นโรคนี้หรือไม่ก็ตาม    ฉะนั้นพ่อ แม่ที่คิดจะมีลูก ควรเตรียมการและวางแผนไว้ล่วงหน้า  หาเวลาไปตรวจเลือดพร้อมกัน  เพื่อลูกจะได้มีสุขภาพแข็งแรง  ไม่เป็นโรคที่ป้องกันได้  อย่าง... โรคกรรม(พันธุ์) นี้ นะคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น