วันศุกร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2557

โรคพิษสุนัขบ้า..



โรคพิษสุนัขบ้า..โรคของสุนัขที่คนต้องใสใจเพราะป่วยแล้วเสียชีวิตทุกราย
                            โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ   เกิดจากเชื้อไวรัสเรบี่ส์ซึ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทุกชนิดเป็นสัตว์นำโรค  เช่น  สุนัข  แมว  ชะนี  กระรอก  กระแต  กระต่าย  ลิง  ค้างคาว  วัว  ควาย  แพะ  เป็นต้น   สัตว์นำโรคที่สำคัญที่สุดในประเทศไทยคือสุนัข(มากกว่าร้อยละ 95 รองลงมาคือแมว   คนได้รับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าจากการถูกสัตว์เหล่านี้กัดหรือข่วน    สามารถตรวจพบเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าในน้ำลายสัตว์ได้นาน 1 - 7 วันก่อนแสดงอาการ
                           อาการของโรคพิษสุนัขบ้าที่พบในคน    ระยะฟักตัวอาจสั้นมากคือไม่ถึงสัปดาห์  หรืออาจนานเกิน ปี    ผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร   เจ็บคอ   มีไข้   คันรุนแรงบริเวณที่ถูกกัด    แล้วอาการคันลามไปส่วนอื่น   ต่อมาจะมีอาการกระสับกระส่าย   กลัวแสง   กลัวลม   ไม่ชอบเสียงดัง  กลืนลำบากโดยเฉพาะของเหลว   กลัวน้ำ   ปวดท้องน้อยและกล้ามเนื้อขากระตุก   แน่นหน้าอก  หายใจไม่ออก   หรืออาจชัก  เกร็ง  อัมพาต  หมดสติ  และตายในที่สุด

                              การป้องกันทำได้โดย
                             1. นำสุนัข   แมว   และสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ มารับการฉีดวัคซีนครั้งแรกเมื่ออายุ 2 - 4เดือน   แล้วฉีดกระตุ้นอีกครั้งตามกำหนดนัด    และฉีดซ้ำทุกปี
                             2. เลี้ยงสุนัข   แมว   และสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ ต้องไม่ปล่อยออกนอกบ้านตามลำพัง
                              3. ไม่นำสุนัข   แมว   หรือสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ ไปปล่อยวัด   โรงเรียน   หรือสถานที่สาธารณะต่าง ๆ
                             4. ลดความเสี่ยงจากการถูกสุนัขกัดหรือทำร้าย  โดยใช้คาถา ย. เพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและลดความเสี่ยงจากการถูกสุนัขกัด  ดังนี้   อย่าแหย่  ไม่แหย่ให้สุนัขโมโห   อย่าเหยียบ(หาง ตัว ขา)สุนัข   และไม่ทำให้สุนัขเจ็บหรือตกใจ    อย่าแยก  ไม่ไปแยกสุนัขที่กำลังกัดกันหรือกัดคนด้วยมือเปล่า  อย่าหยิบ  ไม่หยิบจานข้าวขณะสุนัขกำลังกินอาหาร    อย่ายุ่งหรือสัมผัสสุนัขที่ไม่รู้จักหรือไม่มีเจ้าของ
                              5. การปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเมื่อถูกสุนัขกัด   ล้างแผลให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่  กักสัตว์ไว้ดูอาการ 10 วัน   ไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ถูกต้อง
                             6. พบเห็นสัตว์สงสัยเป็นโรคพิษสุนัขบ้า    ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที

 
โรคพิษสุนัขบ้านี้ไม่มีทางรักษาให้หายได้    หากติดเชื้อและมีอาการแล้วเสียชีวิตทุกราย ป้องกันได้ด้วยการนำสัตว์เลี้ยงไปรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าตามกำหนด   และใช้คาถา 5ย.    ถ้าถูกสุนัขหรือสัตว์กัดข่วนให้รีบล้างแผล   ใส่ยา   กักหมา   และไปหาหมอค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2557

จะเป็นผู้สูงวัยที่ดูแลตนเองได้...อย่างไร?

จะเป็นผู้สูงวัยที่ดูแลตนเองได้...อย่างไร? 
ปี 2557 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่าประเทศไทยมีประชากร 64 ล้าน 8 แสนกว่าคน  เป็นชาย 31 ล้านกว่าคน  หญิง 33 ล้านกว่าคน   มีประชากรอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป  16 ล้าน 5 แสนกว่าคน  โดยคาดว่าคนกลุ่มนี้ผู้ชายจะมีชีวิตอยู่ต่อไปอีก 20 ปี  ส่วนผู้หญิงจะมีชีวิตอยู่ต่อไปอีก 23.2 ปี และจังหวัดลำปางเรามีอัตราส่วนของคนอายุ 60 ปีขึ้นไปต่อคนอายุน้อยกว่า 15 ปี 100 คน สูงที่สุดในประเทศคือ 144 ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ 83  จังหวัดที่ต่ำสุดคือนราธิวาสอยู่ที่ 40

ความก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุขทำให้คนเราอายุยืนยาวขึ้น    ประกอบกับสังคมปัจจุบัน ลูก หลาน ซึ่งมีจำนวนน้อยคนอยู่แล้วมักจะทำงานต่างพื้นที่  จึงไม่ได้อยู่ดูแลพ่อแม่ซึ่งแก่เฒ่าแล้ว  ทำให้ผู้สูงอายุต้องอยู่บ้านตามลำพัง  ฉะนั้นท่านที่กำลังจะก้าวสู่วัยสูงอายุควรเตรียมตัวให้พร้อม ที่จะเป็นผู้สูงอายุที่พึ่งพาตนเองได้ให้มากที่สุด  หากเราสามารถเตรียมตัว เตรียมใจ กับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ นี้ได้ ก็จะสามารถดำเนินชีวิตในปั้นปลายได้อย่างมีความสุขตามอัตภาพ  

การพึ่งตนเองให้ได้นั้น   ผู้สูงอายุควรใส่ใจตนเอง โดยใช้หลัก 3 อ. ง่ายๆ คือ
 1. อารมณ์และสุขภาพจิต ควรออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยลดความเครียด   นอนหลับได้ดีขึ้น  ทำให้สุขภาพจิตดี  กล้ามเนื้อแข็งแรง  ช่วยควบคุมน้ำหนักตัวได้ และยังสามารถป้องกันโรคที่เกิดจากความเสื่อมได้ด้วย  ซึ่งการออกกำลังกายนั้นทำได้หลายวิธี  ทั้งกายบริหาร  การฝึกแรงกล้ามเนื้อ  การฝึกความอดทนทั่วไป  การเล่นกีฬา  การใช้แรงกายในชีวิตประจำวัน  เป็นต้น

2. อากาศและสิ่งแวดล้อม ผู้สูงอายุควรอยู่ในสถานที่สะอาด  อากาศถ่ายเทดี ลมพัดโชยไปมา  ซึ่งจะทำให้การหายใจปลอดโปร่ง  ร่างกายได้รับออกซิเจนเต็มที่   ผู้สูงอายุที่อยู่ในเมือง  ควรหาโอกาสไปพักผ่อนตามชนบท หรือชายทะเลบ้าง

3. งานอดิเรก ผู้สูงอายุไม่ควรปล่อยเวลาให้ว่างเกินไป  ควรมีกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ ที่ชอบทำ  ไม่ว่าจะเป็นงานที่มีรายได้หรืองานที่ทำให้เพลิดเพลิน  อาจเป็นการพบปะเพื่อนฝูง  ร่วมกิจกรรมในชมรมต่างๆ  จะทำให้รู้สึกมีคุณค่า มีประโยชน์ต่อสังคม

เมื่อสังขารเสื่อมลงตามกาลเวลา ผู้สูงอายุจึงเจ็บป่วยง่าย สภาพจิตใจก็ย่ำแย่ไปด้วย  การดูแลสุขภาพตนเองให้มากเป็นพิเศษจึงเป็นเรื่องจำเป็น  ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกายและหากพบก็ควรปรึกษาแพทย์ สำหรับลูก หลานที่มีผู้สูงอายุอยู่ที่บ้าน  ช่วงสงกรานต์นี้เป็นโอกาสดีที่จะกลับบ้าน  ไป “รดน้ำดำหัว” พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ญาติผู้ใหญ่ตลอดจนครูบาอาจารย์ที่เคารพนับถือ ซึ่งท่านจะให้ความสำคัญกับวันนี้มากๆ  อย่าปล่อยให้ผู้มีพระคุณของเรารอเก้อ นะคะ

เคล็ดลับหลับสบาย



เคล็ดลับหลับสบาย
เคล็ดลับที่ช่วยให้นอนหลับได้อย่างสุขกายสบายใจมีหลายวิธี   เช่น 
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทุกวัน   อย่างน้อยวันละ 30 นาที   เพื่อลดความตึงเครียดทางร่างกายและจิตใจ   ช่วยให้หลับสบายขึ้น

 การจัดกิจกรรมผ่อนคลายเป็นประจำช่วง 1 - 2 ชั่วโมงก่อนนอน   เช่น   อาบน้ำอุ่น   อ่านหนังสือ   หรือฟังเพลง   เพื่อช่วยให้สมองผ่อนคลายและพร้อมที่จะนอนหลับ                               
 การเข้านอนและตื่นนอนให้ตรงเวลาทุกวัน หากสามารถทำติดต่อกันได้นานประมาณ สัปดาห์   ร่างกายจะเริ่มเกิดความคุ้นเคยกับการนอนหลับเป็นเวลามากขึ้น                           
 สภาพห้องนอนที่จะช่วยให้หลับได้สบายควรเป็นห้องที่มืด   เงียบสงบ   และมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก    รวมทั้งปิดอุปกรณ์หรือเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ ที่รบกวนการนอนหลับ   เพื่อช่วยให้หลับได้สนิทและเกิดการพักผ่อนอย่างแท้จริง     
        
                                                                                          

 เมื่อเข้านอนนาน 15 - 30 นาทีแล้วยังไม่หลับ    ให้ลุกขึ้นจากที่นอนแล้วทำกิจกรรมที่ช่วยให้ความเพลิดเพลิน   เช่น   ฟังเพลง   หรืออ่านหนังสือ   และกลับมานอนใหม่เมื่อรู้สึกง่วงเท่านั้น   ไม่ควรนอนอยู่บนเตียงนาน ๆ โดยไม่หลับจนถึงเช้าเพราะจะกระตุ้นให้เกิดความเครียดได้                      
 
ควรใช้ที่นอนสำหรับการนอนหลับ   ไม่นอนเล่นหรือทำกิจกรรมอย่างอื่นบนที่นอน   เช่น   ทำงาน   ดูโทรทัศน์   หรืออ่านหนังสือ                                                                                    

ลุกจากที่นอนทันทีเมื่อตื่น    การสัมผัสแสงแดดอ่อนตอนเช้าและออกกำลังกายเบา ๆ หลังตื่นนอนจะช่วยให้สมองและร่างกายตื่นตัวเพื่อพร้อมรับวันใหม่ที่สดชื่น                                         

ไม่ใช้เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน   ชา   กาแฟ   โดยเฉพาะหลังเที่ยงวัน   และไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์   เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้มีผลต่อระบบประสาทและรบกวนการนอนหลับได้   ส่วนอาหารมื้อก่อนนอนควรเป็นอาหารเบา ๆ   เช่น   นม   หรือน้ำผลไม้   ซึ่งจะช่วยให้หลับสบายมากขึ้น


เคล็ดลับต่าง ๆ เหล่านี้ทุกคนสามารถทำได้ด้วยตัวเอง    แต่ถ้ามีอาการนอนไม่หลับมากกว่า สัปดาห์   หรือมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน   ควรจะมาปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจประเมินและวางแผนการรักษาต่อไป 

อากาศอุ่นขึ้นระวังไข้เลือดออก


อากาศอุ่นขึ้นระวังไข้เลือดออก
ช่วงอากาศเปลี่ยนจากหน้าหนาวเข้าสู่หน้าร้อน  อากาศที่อบอุ่นขึ้น  มีผลต่อการเพิ่มจำนวนยุงลายที่เป็นพาหะของเชื้อไข้เลือดออก    ซึ่งเป็นโรคที่พบได้ตลอดทั้งปี   โดยในปี 2556 ที่ผ่านมา  พบผู้ป่วย ถึง 1 แสน 5 หมื่นกว่าคน เสียชีวิตไปถึง 132 คน ซึ่งมากที่สุดในรอบ 20 ปี  ส่วนในปีนี้ระยะเวลาไม่ถึง 2 เดือน  มีผู้เป็นไข้เลือดออกแล้ว 1,433 คน เสียชีวิตไป คน  

นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข  ได้แสดงความเป็นห่วงประชาชน โดยกำชับให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกจังหวัด  ช่วยกันเร่งรณรงค์ป้องกันไข้เลือดออก โดยขอความร่วมมือชุมชนร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทั้งในบ้าน  นอกบ้าน   โรงเรียน   สถานที่ทำงาน  รวมทั้งศาสนสถานต่างๆ  อย่างต่อเนื่องทุกๆ สัปดาห์   ทั้งนี้เพราะไข้เลือดออก   เป็นโรคที่ไม่มียารักษาเฉพาะ  และยังไม่มีวัคซีนป้องกัน   คนทุกวัยมีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้ได้    ปัจจุบันพบว่าวัยรุ่นเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสป่วยเป็นไข้เลือดออกมากที่สุด   เนื่องจากมีวิถีชีวิตอาจโดนยุงลายกัดเพิ่มมากขึ้น  เช่น  การเล่นเกมในร้านคอมพิวเตอร์ หรือตามมุมอับในบ้าน   อยู่ในสถานบันเทิงเป็นเวลานาน  เป็นต้น เพราะสภาพสังคมเมืองมักกรุมุ้งลวดทำให้อับลม  เมื่อยุงลายสามารถเล็ดลอดเข้าไปในบ้านได้  มันจะพัฒนาตัวเอง และหาแหล่งวางไข่แพร่พันธุ์ภายในอาคารบ้านเรือน  ซึ่งที่ผ่านมามีการสำรวจพบไข่ยุงและลูกน้ำในถังเก็บน้ำในห้องน้ำ  ในคอห่าน ข้อต่อน้ำทิ้งใต้ซิงค์น้ำหรืออ่างล้างมือ ฉะนั้น หากพบมียุงบินอยู่ในบ้าน  ก็เป็นสัญญาณเตือนว่ามีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอยู่ในบ้านแน่นอน ควรรีบกำจัดทันที  โดยขัดล้างภาชนะขังน้ำให้ไข่ยุงที่ติดอยู่ออกให้หมด   ส่วนซิงค์น้ำควรเทราดด้วยน้ำต้มเดือดทุกๆ 5-7 วัน 

ไข้เลือดออก เป็นโรคใกล้ตัว  ซึ่งอาจเกิดกับคนในบ้านใครก็ได้ที่ขังยุงลายเอาไว้   การเฝ้าระวังกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบริเวณบ้านตนเองอย่างต่อเนื่องจึงเป็นเรื่องสำคัญ  นอกจากนั้น ควรกำจัดยุงตัวแก่  ดูแลซ่อมแซมมุ้งลวดให้ใช้การได้ดีอยู่เสมอ  เพื่อไม่ให้ยุงกัดคนในบ้านได้  และหากคนในบ้านป่วย ไม่ว่าจะเป็นเด็ก หรือผู้ใหญ่ มีอาการไข้สูงลอย กินยาพาราเซตามอลลดไข้แล้ว ไข้ไม่ลด  ไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก  แต่มีคลื่นไส้  อาเจียน  เบื่ออาหาร หรือมีจุดแดงที่ผิวหนัง ควรมาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาเพราะหากเป็นไข้เลือดออกแล้ว   ช่วงที่ไข้ลด คือระยะวันที่ 3 หรือ 4 ของการป่วย   หากผู้ป่วยซึมลง  กินอาหารและน้ำไม่ได้   อาจเข้าสู่ภาวะช็อกเป็นอันตรายได้ 

เพศสัมพันธ์ขณะมีประจำเดือน


เพศสัมพันธ์ขณะมีประจำเดือน
                            ปัจจุบันพบว่า  สตรีวัยรุ่นร้อยละ 2.4 - 4 และสตรีวัยผู้ใหญ่ร้อยละ 25 - 30 มีพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ขณะมีประจำเดือน    ซึ่งในกลุ่มวัยผู้ใหญ่เป็นผู้มีการศึกษาดี  รายได้ดี  และไม่รังเกียจความสกปรกของเลือดประจำเดือน    และยังเชื่อว่าเลือดมีส่วนช่วยหล่อลื่นขณะมีเพศสัมพันธ์    และช่วยคุมกำเนิดไปในตัวด้วย    ซึ่งตรงกันข้ามกับผู้หญิงอีกจำนวนมากที่คิดว่าพฤติกรรมดังกล่าวเป็นสิ่งต้องห้ามและน่ารังเกียจ

             สาเหตุที่ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างการมีประจำเดือนนั้น     เนื่องจากในช่วงที่มีประจำเดือนภูมิต้านทานร่างกายจะต่ำลงทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อ    หากมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างนั้นโอกาสเสี่ยงที่จะติดโรคทางเพศสัมพันธ์   เช่น   หนองใน   พยาธิในช่องคลอด   หูดหงอนไก่   จะมีสูงเพิ่มขึ้นถึง เท่า    เนื่องจากปากมดลูกจะเปิดออก    ทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่โพรงมดลูกได้ง่ายขึ้น    นอกจากนี้ธาตุเหล็กที่อยู่ในเลือดประจำเดือนก็จะส่งเสริมการเจริญเติบโตของเชื้อหนองในได้เป็นอย่างดี    และการที่เยื่อบุโพรงมดลูกลอกหลุดนี่เองที่ทำให้เชื้อสามารถเข้าสู่กระแสเลือดได้มากขึ้น   เกิดการติดเชื้อลุกลามได้ง่าย    โดยจะสามารถเกิดการอักเสบได้จนถึงภายหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว 1 - 2 สัปดาห์    และที่ต้องระวังเป็นอย่างมากคือการติดเชื้อเอชไอวี

                              โดยปกติหากมีเพศสัมพันธ์กัน  ฝ่ายหญิงมีโอกาสติดเชื้อจากฝ่ายชาย 10 ใน 10,000 ครั้งของการมีเพศสัมพันธ์    ขณะที่ฝ่ายชายจะติดจากฝ่ายหญิง ใน 10,000  ครั้งของการมีเพศสัมพันธ์    แต่ถ้ามีเลือดและสารคัดหลั่งออกมาในช่วงมีประจำเดือนอัตราการติดเชื้อเอชไอวีอาจจะเพิ่มสูงขึ้นทั้งฝ่ายชายและหญิง      
        

                                ดังนั้น    คุณผู้ชายทั้งหลายควรสนใจและให้ความสำคัญกับเรื่องนี้    เพราะนอกจากเชื้อเอชไอวีแล้วยังมีเชื้อเริมซึ่งตามปกติก็ติดต่อง่ายอยู่แล้ว   แต่ในช่วงมีประจำเดือนพบว่าโรคเริมกลับมาเป็นซ้ำมากกว่าเดิมทำให้แพร่เชื้อได้มากขึ้น    และทำให้เกิดอาการแสบร้อนจนรำคาญ    และพลอยให้หมดความรู้สึก    ไม่อยากมีเพศสัมพันธ์    ซึ่งถ้าหลีกเลี่ยงได้ในช่วงนี้ก็ควรจะทำ

ลูกเลี้ยงง่าย อย่าชะล่าใจ..ระวังเป็น “ออทิสติก”



ลูกเลี้ยงง่าย อย่าชะล่าใจ..ระวังเป็น “ออทิสติก” 
ออทิสติก เป็นความผิดปกติทางพัฒนาการของเด็กรูปแบบหนึ่ง ที่มีลักษณะชอบแยกตัว อยู่กับตัวเอง   ไม่พูด หรือติดต่อสื่อสารกับคนอื่นไม่เป็น และมีปัญหาด้านพฤติกรรม เกิดข้อจำกัดในการดำรงชีวิต วันที่ ๒ เมษายน นี้ องค์การสหประชาชาติประกาศให้เป็นวันรณรงค์ตระหนักรู้ “ออทิสติกโลก” หรือ World Autism Awareness Day : WAAD  เพื่อหามาตรการต่างๆ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นโรคนี้

ออทิสติกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกประเทศทั่วโลก  ผู้ชายเป็นมากกว่าผู้หญิง 4-5 เท่า และยังไม่ทราบสาเหตุของความผิดปกติอย่างแน่ชัด  แต่มีหลักฐานสนับสนุนชัดเจนว่าเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม ทำให้สมองทำงานผิดปกติ   โรคนี้เป็นตั้งแต่เกิดโดยมีอาการแตกต่างกันหลากหลายรูปแบบ การสังเกตลูกว่าเป็นออทิสติกหรือไม่นั้น  สามารถสังเกตได้ตั้งแต่ลูกยังเล็กๆ เด็กมักจะไม่สบตา  เรียกชื่อไม่สนใจหันมามอง  หน้าตาเฉยเมย  ไม่ยิ้ม หรือหัวเราะ  ไม่ชอบให้อุ้ม  ไม่แสดงท่าทีเรียกร้องความสนใจใดๆ  ค่อนข้างเงียบ   ไม่ส่งเสียง  เลี้ยงง่าย พูดไม่เป็นคำ แต่ออกเสียงที่ไม่มีความหมาย   ไม่สนใจของเล่น หรือคนรอบข้าง   ชี้นิ้วบอกความต้องการไม่เป็น อยากได้อะไรมักทำเอง หรือจูงมือพ่อแม่ไปหยิบให้โดยไม่ส่งเสียง   ชอบจ้องมองสิ่งของที่เป็นแสงวาววับ  แสงไฟ  เงาวูบวาบ หรือของที่หมุนๆ  เช่น พัดลม  ล้อรถที่กำลังหมุน   ชอบเล่นมือ สะบัดมือ  หมุนตัว  โยกตัว  เขย่งเท้าเดิน  ไม่เข้าใจสีหน้าอารมณ์ของผู้อื่น  เล่นกับเด็กในวัยเดียวกันไม่เป็น   มักจะเล่นกับเด็กที่โตกว่าหรือผู้ใหญ่  ไม่สนใจของเล่นที่เด็กทั่วไปเล่น แต่ไปเล่นของที่ไม่ควรเล่น   จินตนาการไม่เป็น  เช่น วางเรียงบล็อกไม้เป็นรถไฟ   ก้อนหินเป็นขนม    ไม่รู้จักแยกแยะหรือหลีกหนีอันตรายได้   เช่น  เห็นสุนัขท่าทางดุๆ เห่าเสียงดัง แต่กลับวิ่งเข้าไปหา

คุณพ่อคุณแม่ หรือผู้เลี้ยงดูจึงจำเป็นต้องสังเกตพัฒนาการเด็กตามวัย   ซึ่งมีรายละเอียดอยู่ใน “สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก” หรือสมุดสีชมพูที่ได้รับจากโรงพยาบาลเมื่อครั้งที่ไปฝากครรภ์แล้ว โดยควรบันทึกพัฒนาการเด็กตามอายุที่ลูกทำได้ในช่องที่ให้ไว้   ในสมุดสีชมพูนี้จะมีข้อแนะนำวิธีส่งเสริมพัฒนาการของเด็กด้วย หากเด็กมีพัฒนาการล่าช้า เช่น อายุ 3 เดือนลูกไม่สบตา ไม่ทำท่าดีใจเมื่อแม่อุ้ม อายุ 6 เดือนไม่มองตาม ไม่หันตามเสียง ไม่สนใจคนที่เล่นด้วย ฯลฯ  ซึ่งหลักจำสั้นๆ คือ “ไม่สบตา  ไม่พาที  ไม่ชี้นิ้ว”  ให้นึกถึงออทิสติก คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม

ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีวิธีการรักษาจำเพาะเจาะจงให้หายขาดได้  แต่การดูแลรักษาอย่างเหมาะสมและต่อเนื่องตั้งแต่ลูกอายุน้อยๆ ช่วง 2 ขวบแรก  จะเพิ่มความสามารถทางภาษาและสติปัญญาของลูกได้ และเชื่อว่าความรัก ความใส่ใจ ที่พ่อแม่มีให้ลูกอย่างเต็มเปี่ยม   จะค่อยๆ พัฒนาความรู้ ความเข้าใจ  มีทักษะที่ดีในการดูแลลูกอย่างต่อเนื่อง   ทำให้ลูกมีพัฒนาการดีขึ้นเต็มศักยภาพได้  จึงช่วยให้ลูกสามารถใช้ชีวิตร่วมกับคนในสังคมได้อย่างปกติสุข

วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

พัฒนาการทารกในครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์




จะบ่งบอกลำดับขั้นตอนของการกำเนิดชีวิตน้อยๆ และเพื่อให้พ่อแม่ในฐานะผู้ให้ชีวิตควรจะตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อชีวิตที่ตนเองสร้างขึ้น และเพื่อให้รู้จักมีสติและสร้างความพร้อมในฐานะผู้ให้กำเนิด

พัฒนาการทารกในครรภ์ 5 สัปดาห์

เจ้าตัวเล็กของเราตอนนี้กำลังมีการแยกตัวของกลุ่มเซลล์ให้กลายเป็นเนื้อเยื่อ 3 ชั้น คือ เนื้อเยื่อชั้นนอก (หรือที่เรียกว่า Ectoderm) เนื้อเยื่อชั้นกลาง (หรือที่เรียกว่า Mesoderm) และเนื้อเยื่อชั้นใน (ที่เรียกว่า Endoderm) ทั้งหมดจะทำหน้าที่สร้างส่วนต่างๆของร่างกายให้ครบสมบูรณ์นั่นเอง
* Ectoderm จะสร้างระบบประสาท เริ่มจากที่สมองน้อยๆของเจ้าตัวเล็ก เส้นประสาทที่สันหลัง กระดูกสันหลัง ต่อมต่างๆ และค่อยๆเติบโตเป็น ผิวหนัง เส้นผม เล็บ เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง และฟัน
* ส่วน Mesoderm จะสร้างหัวใจและระบบหมุนเวียนเลือด ในสัปดาห์นี้หัวใจของเจ้าตัวเล็กเริ่มแบ่งเป็นห้องๆได้แล้ว และมีการเต้นและสูบฉีดโลหิตแล้ว นอกจากนี้เนื้อเยื่อส่วนกลางยังพัฒนาระบบกล้ามเนื้อ และกระดูกด้วย
* เนื้อเยื่อชั้นในสุดหรือ Endoderm จะคอยสร้างปอด ลำไส้ ระบบขับถ่าย ต่อมไธรอยด์ ตับ และตับอ่อน ในเวลาเดียวกันกับที่ส่วนต่างๆ ของร่างกายกำลังก่อร่างสร้างตัวขึ้นมา รกก็เริ่มทำหน้าที่ ส่งสารอาหารสำคัญๆ และส่งออกซิเจนไปที่เจ้าตัวเล็กแล้วค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 6 สัปดาห์

ทารกมีพัฒนาการเติบโตอย่างรวดเร็วอย่างจมูก ปาก หู ก็เริ่มเห็นเป็นรูปเป็นร่างคร่าวๆ บ้างแล้ว (จะเห็นว่าลูกเราดูหัวโตๆกว่าปกติ และมีจุดดำๆ สองสามจุดรางๆ ที่เดาได้ว่าคงเป็นตากับรูจมูกนั่นเอง ส่วนแขนกับขาก็เริ่มมาเป็นตุ่มเล็กๆ แต่ยังไม่เห็นเป็นรูปร่างชัดเจนเท่าไหร่)
หัวใจของเจ้าตัวเล็กช่วงนี้จะเต้นถี่ถึง 100-160 ครั้งต่อนาที ที่เป็นแบบนั้นก็เพราะระบบเลือดกำลังหล่อเลี้ยงร่างกาย ลำไส้ ตับ กำลังค่อยๆ สร้างขึ้นมา แม้แต่ต่อมพิทูอิทารี่ก็กำลังเริ่มสร้างเช่นกัน ที่สมอง กล้ามเนื้อ และกระดูกก็ด้วยค่ะ ถ้าวัดความยาวของตัวช่วงนี้ก็ได้ประมาณ 0.25 นิ้ว หรือประมาณเมล็ดถั่ว เล็กๆ เท่านั้นเอง

พัฒนาการทารกในครรภ์ 7 สัปดาห์

สัปดาห์นี้โตขึ้นอีกเล็กน้อยถ้าวัดขนาดก็จะได้ ประมาณลูกบลูเบอร์รี่เล็กๆ หรือประมาณ 1/2 นิ้วเท่านั้นเองค่ะ ถ้ามองผ่านกล้องเข้าไปในมดลูกได้ สัปดาห์นี้เราจะเริ่มเห็นหน้าตาของเจ้าตัวเล็กได้บ้าง แต่ยังดูแปลกประหลาดสำหรับเราอยู่ แต่ที่ปลายจมูกก็เริ่มมองเห็นเส้นเลือดอยู่ใต้ผิวหนัง ส่วนของสมองก็พัฒนาไปกว่าครึ่งหนึ่งแล้ว ส่วนตับก็เริ่มฟอกเซลล์เม็ดเลือดแดงได้แล้ว และรอจนกว่าไขกระดูกจะพัฒนาเติบโต เพื่อมารับหน้าที่นี้ต่อไป ตับอ่อนเริ่มผลิตฮอร์โมนอินซูลินสำหรับช่วยใน การย่อยอาหาร ลำไส้เองก็เริ่มก่อตัวเป็นโพรง เพื่อที่จะส่งถ่ายเลือดและออกซิเจน รวมทั้งสารอาหารไปเลี้ยงร่างกายของเจ้าตัวเล็กค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 8 สัปดาห์

ทารกอยู่ในท้องเราได้ 2 เดือนเต็มๆแล้ว ถึงตอนนี้นิ้วมือและนิ้วเท้าเล็กๆเริ่มโผล่ออกมาจากแขนและขาบ้างแล้ว หนังตาบางๆ ก็เริ่มปิดตาจนมิด ระบบทางเดินหายใจเริ่มต่อยาวจากลำคอไปที่ปอด ส่วนหางที่เคยเห็นเมื่อสัปดาห์ที่แล้วตอนนี้ก็เริ่มสั้นลง จนเกือบหายไปแล้วค่ะ เซลล์ประสาทต่างๆในสมองก็เริ่มพัฒนาเติบโต เชื่อมต่อกันขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเรากำลังลุ้นอยู่ว่าทารกของเราเป็นเด็กหญิงหรือเด็กชายกันแน่ สงสัยว่าเราคงต้องเก็บความสงสัยนี้เอาไว้ก่อน เพราะสัปดาห์นี้ยังไม่สามารถเห็นเพศ ของทารกได้ค่ะ



เริ่มแรกนะคะต้องมาจากการสุกเต็มที่ของไข่อ่อนที่เรียกง่ายๆ ว่า การตกไข่ เป็นช่วงเวลาที่ไข่จะตกไปที่ท่อรังไข่และใช้เวลาระหว่าง 12-24 ชั่วโมง ช่วงจังหวะนั้นถ้ามีเพศสัมพันธ์พอดี ก็จะมีสเปิร์มผ่านเข้าทางช่องคลอดมากว่า 250 ล้านตัว (โดยเฉลี่ย) ตัวไหนที่แข็งแรงที่สุดก็จะว่ายผ่านช่องคลอดเข้าไปข้างในมดลูกและเข้าไปถึงท่อรังไข่ที่ต้องใช้เวลาเป็น 10 ชั่วโมงกว่าที่สเปิร์มจะบากบั่นฝ่าฟันเข้าไปถึงไข่อ่อนได้ค่ะ ถึงตอนนั้นจะเหลือสเปร์มไม่เกิน 400 ตัวเท่านั้นเอง และ จะมีสเปิร์มตัวที่เก่งที่สุดแค่ตัวเดียวเท่านั้นที่จะเจาะเข้าไปด้านในของไข่อ่อนได้สำเร็จค่ะ
หลังจากนั้น 10-30 ชั่วโมงต่อมา เราก็จะได้ลุ้นกันแล้วว่าเจ้าตัวเล็กของเราจะเกิดมาเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายกันแน่ เพราะปกติแล้วสเปิร์มจะมี 2 แบบคือ ตัวที่ชื่อว่า X และตัวที่ชื่อ Y ขั้นตอนนี้ลุ้นสุดๆ สำหรับคุณแม่เลยค่ะ เพราะถ้าสเปิร์มตัวที่เก่งที่สุดชื่อ Y เจาะเข้าไปที่ไข่อ่อนได้สำเร็จ เราก็จะได้ลูกชาย แต่ถ้าเขาชื่อ X ล่ะก็เราได้ลูกสาวแน่นอนเลยค่ะ ระหว่าง 3-4 วันนั้นจะมีการผสมกันของสเปิร์มและไข่ หรือที่เรียกว่า Zygote จะเริ่มมีการแบ่งขยายเซลล์ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึง 16 เซลล์ กลายเป็นตัวอ่อนหรือที่เรียกว่า Morula หลังจากนั้นภายใน 1-2 วัน ตัวอ่อนจะเคลื่อนผ่านมาจนถึงปลายท่อนำไข่และเริ่มฝังตัวที่ผนังด้านหลังของ มดลูก และค่อยๆ เติบโตขึ้นเรื่อยๆ เซลล์ที่อยู่ด้านในจะกลายมาเป็นถุงน้ำคร่ำ ส่วนเซลล์ที่อยู่ด้านนอกจะ พัฒนากลายมาเป็นรก สายใยสำคัญที่ช่วยส่งผ่านทั้งสารอาหารที่จำเป็นและออกซิเจนจากแม่ อย่างเราให้ไปถึงเจ้าตัวเล็กได้ และทำให้เจ้าตัวเล็กค่อยๆ โตวันโตคืนขึ้นมานั่นเองค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 3 สัปดาห์

ช่วงนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับเจ้าตัวเล็กมากมายเลยค่ะ เริ่มตั้งแต่การเพิ่มขึ้นของเซลล์หลายร้อยเซลล์ หนึ่งในเซลล์นั้นมีชื่อว่า Blastocyst จะอยู่ในมดลูกของเรา ส่วนที่อยู่ในรกจะสร้างฮอร์โมน HCG (Human Chorionic Gonadotropin) เพื่อส่งสัญญาณให้ร่างกายหยุดการสร้างไข่อ่อนแต่หันมาสร้างเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนแทน ถ้าช่วงนี้เราไปซื้อชุดทดสอบการตั้งท้องมาตรวจช่วงนี้ล่ะก็ จะทำให้ผลการตรวจออกมาเป็นบวกได้ ซึ่งก็แปลว่าเราท้องแล้วอย่างแน่นอนค่ะ
และระหว่างนั้นร่างกายของเราก็จะเริ่มสร้างถุงน้ำคร่ำขึ้นมา ซึ่งน้ำที่ไหลอยู่ข้างในจะทำหน้าที่ปกป้อง เจ้าตัวเล็กที่ค่อยๆ เติบโตขึ้นในทุกๆวันนั่นเอง และแน่นอนว่าเจ้าตัวเล็กของเราก็จะเริ่มได้รับสารอาหารและออกซิเจนผ่านทางท่อเส้นเล็กๆ และรอจนกว่ารกจะแข็งแรงดีพอที่จะทำหน้าที่ของมันในปลายสัปดาห์นี้ค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 4 สัปดาห์

จากนี้ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 10 จะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายของเจ้าตัวเล็กจะค่อยๆเติบโตอย่างช้าๆ ไม่ว่าจะเป็นมือน้อยๆ แขนขาน้อยๆของเขาก็กำลังจะก่อตัวขึ้นมา ถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมากของทั้งคุณแม่และเจ้าตัวเล็กเลยนะคะ ที่จะต้องช่วยกันดูแลให้อวัยวะต่างๆของเจ้าตัวเล็กให้เพียบพร้อมและสมบูรณ์ที่สุดให้ได้ค่ะ
เจ้าตัวเล็กตอนนี้ก็เหมือนเมล็ดพืชเล็กๆที่เราหว่านเอาไว้นั่นเองค่ะ กำลังรอเวลาแตกกิ่งก้านมาเป็นต้นไม้ใหญ่ในวันข้างหน้า ซึ่งตอนนี้จะมีถุงน้ำคร่ำคอยปกป้องเขาอยู่อย่างอ่อนโยน ช่วงนี้สิ่งต่างๆที่อยู่ในถุงน้ำคร่ำที่จะทำหน้าที่เลี้ยงดู สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ส่งสารอาหารสำคัญ และออกซิเจนให้เจ้าตัวเล็กแทนรกที่กำลังพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ก่อนจะรับหน้าที่นี้ไปทำต่อเองค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 5 สัปดาห์

เจ้าตัวเล็กของเราตอนนี้กำลังมีการแยกตัวของกลุ่มเซลล์ให้กลายเป็นเนื้อเยื่อ 3 ชั้น คือ เนื้อเยื่อชั้นนอก (หรือที่เรียกว่า Ectoderm) เนื้อเยื่อชั้นกลาง (หรือที่เรียกว่า Mesoderm) และเนื้อเยื่อชั้นใน (ที่เรียกว่า Endoderm) ทั้งหมดจะทำหน้าที่สร้างส่วนต่างๆของร่างกายให้ครบสมบูรณ์นั่นเอง
* Ectoderm จะสร้างระบบประสาท เริ่มจากที่สมองน้อยๆของเจ้าตัวเล็ก เส้นประสาทที่สันหลัง กระดูกสันหลัง ต่อมต่างๆ และค่อยๆเติบโตเป็น ผิวหนัง เส้นผม เล็บ เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง และฟัน
* ส่วน Mesoderm จะสร้างหัวใจและระบบหมุนเวียนเลือด ในสัปดาห์นี้หัวใจของเจ้าตัวเล็กเริ่มแบ่งเป็นห้องๆได้แล้ว และมีการเต้นและสูบฉีดโลหิตแล้ว นอกจากนี้เนื้อเยื่อส่วนกลางยังพัฒนาระบบกล้ามเนื้อ และกระดูกด้วย
* เนื้อเยื่อชั้นในสุดหรือ Endoderm จะคอยสร้างปอด ลำไส้ ระบบขับถ่าย ต่อมไธรอยด์ ตับ และตับอ่อน ในเวลาเดียวกันกับที่ส่วนต่างๆ ของร่างกายกำลังก่อร่างสร้างตัวขึ้นมา รกก็เริ่มทำหน้าที่ ส่งสารอาหารสำคัญๆ และส่งออกซิเจนไปที่เจ้าตัวเล็กแล้วค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 6 สัปดาห์

ทารกมีพัฒนาการเติบโตอย่างรวดเร็วอย่างจมูก ปาก หู ก็เริ่มเห็นเป็นรูปเป็นร่างคร่าวๆ บ้างแล้ว (จะเห็นว่าลูกเราดูหัวโตๆกว่าปกติ และมีจุดดำๆ สองสามจุดรางๆ ที่เดาได้ว่าคงเป็นตากับรูจมูกนั่นเอง ส่วนแขนกับขาก็เริ่มมาเป็นตุ่มเล็กๆ แต่ยังไม่เห็นเป็นรูปร่างชัดเจนเท่าไหร่)
หัวใจของเจ้าตัวเล็กช่วงนี้จะเต้นถี่ถึง 100-160 ครั้งต่อนาที ที่เป็นแบบนั้นก็เพราะระบบเลือดกำลังหล่อเลี้ยงร่างกาย ลำไส้ ตับ กำลังค่อยๆ สร้างขึ้นมา แม้แต่ต่อมพิทูอิทารี่ก็กำลังเริ่มสร้างเช่นกัน ที่สมอง กล้ามเนื้อ และกระดูกก็ด้วยค่ะ ถ้าวัดความยาวของตัวช่วงนี้ก็ได้ประมาณ 0.25 นิ้ว หรือประมาณเมล็ดถั่ว เล็กๆ เท่านั้นเอง

พัฒนาการทารกในครรภ์ 7 สัปดาห์

สัปดาห์นี้โตขึ้นอีกเล็กน้อยถ้าวัดขนาดก็จะได้ ประมาณลูกบลูเบอร์รี่เล็กๆ หรือประมาณ 1/2 นิ้วเท่านั้นเองค่ะ ถ้ามองผ่านกล้องเข้าไปในมดลูกได้ สัปดาห์นี้เราจะเริ่มเห็นหน้าตาของเจ้าตัวเล็กได้บ้าง แต่ยังดูแปลกประหลาดสำหรับเราอยู่ แต่ที่ปลายจมูกก็เริ่มมองเห็นเส้นเลือดอยู่ใต้ผิวหนัง ส่วนของสมองก็พัฒนาไปกว่าครึ่งหนึ่งแล้ว ส่วนตับก็เริ่มฟอกเซลล์เม็ดเลือดแดงได้แล้ว และรอจนกว่าไขกระดูกจะพัฒนาเติบโต เพื่อมารับหน้าที่นี้ต่อไป ตับอ่อนเริ่มผลิตฮอร์โมนอินซูลินสำหรับช่วยใน การย่อยอาหาร ลำไส้เองก็เริ่มก่อตัวเป็นโพรง เพื่อที่จะส่งถ่ายเลือดและออกซิเจน รวมทั้งสารอาหารไปเลี้ยงร่างกายของเจ้าตัวเล็กค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 8 สัปดาห์

ทารกอยู่ในท้องเราได้ 2 เดือนเต็มๆแล้ว ถึงตอนนี้นิ้วมือและนิ้วเท้าเล็กๆเริ่มโผล่ออกมาจากแขนและขาบ้างแล้ว หนังตาบางๆ ก็เริ่มปิดตาจนมิด ระบบทางเดินหายใจเริ่มต่อยาวจากลำคอไปที่ปอด ส่วนหางที่เคยเห็นเมื่อสัปดาห์ที่แล้วตอนนี้ก็เริ่มสั้นลง จนเกือบหายไปแล้วค่ะ เซลล์ประสาทต่างๆในสมองก็เริ่มพัฒนาเติบโต เชื่อมต่อกันขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเรากำลังลุ้นอยู่ว่าทารกของเราเป็นเด็กหญิงหรือเด็กชายกันแน่ สงสัยว่าเราคงต้องเก็บความสงสัยนี้เอาไว้ก่อน เพราะสัปดาห์นี้ยังไม่สามารถเห็นเพศ ของทารกได้ค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 10 สัปดาห์

ทารกตอนนี้ตัวยาวกว่า 1 นิ้วเล็กน้อย ส่วนน้ำหนักก็น้อยกว่า 7 กรัม แต่พัฒนาการทางร่างกายของทารกนับว่าจะรวดเร็วขึ้นเรื่อยๆ จนเห็นเป็นรูปเป็นร่างพอสมควรค่ะ อวัยวะสำคัญอย่างไต ลำไส้ สมอง และตับ (ที่ตอนนี้สามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงได้แล้ว) เริ่มทำงานตามหน้าที่ของมัน และจะเติบโตพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ตามช่วงในแต่ละเดือนค่ะ พัฒนาการของทารกในครรภ์อายุ 10 สัปดาห์ เล็บจะเริ่มงอกขึ้นมาบนนิ้วมือและนิ้วเท้าแล้ว และเส้นผมบางๆ รวมทั้งขนอ่อนๆเริ่มขึ้นแล้วเช่นกัน แขนน้อยๆเริ่มงอเตรียมพร้อมสำหรับ ข้อมือในอนาคต กระดูกสันหลังก็เริ่มขึ้นมาเป็นสันบางๆ รวมทั้งระบบประสาทแถวกระดูกสันหลังก็ เริ่มแตกกิ่งก้านมากขึ้น หน้าผากก็เริ่มนูนขึ้นเตรียมพร้อมสำหรับสมองที่ค่อยๆ โตขึ้นทุกวัน ซึ่ง ส่วนหัวตอนนี้มีความยาวถึงครึ่งหนึ่งช่วงตัวเลยทีเดียว หรือถ้าวัดความยาวตั้งแต่หัวจรดเท้าก็จะได้ ประมาณ 1 ¼ นิ้วค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 11 สัปดาห์

ขนาดตัวของทารกสัปดาห์นี้ยาวมากกว่า 1 ½ นิ้วแล้ว อีกไม่นานมือจะกำและคลายออกได้ ฟันซี่เล็กๆกำลังงอกขึ้นมาใต้เหงือก ส่วนกระดูกก็เริ่มแข็งแรงมากขึ้นค่ะทารกจะเริ่มเตะ เริ่มยืดแขนขาเหมือนอยากบิดขี้เกียจได้บ้าง และจะเริ่มออกอาการถี่ขึ้นเรื่อยๆ เมื่อร่างกายเติบโตสมบูรณ์ขึ้นกว่านี้ แถมบางครั้งยังอาจรู้สึกได้ถึงอาการสะอึกของเจ้าตัวเล็กได้บ้างเหมือนกันค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 12 สัปดาห์

ช่วงสัปดาห์นี้นิ้วมือเล็กของเจ้าตัวเล็กกำลังกำมือและแบได้แล้วค่ะ ส่วนนิ้วเท้าจะเริ่มหงิกงอ กล้ามเนื้อที่ตาจะใกล้สมบูรณ์ เริ่มเม้มปากเข้าหากันได้มากขึ้น ช่วงนี้ถ้ากล้ามเนื้อหน้าท้องของเรามีการขยับเคลื่อนไหวทารกก็จะเริ่มดิ้นไปมาเป็นการตอบโต้กลับมาให้เรารู้สึกตัว นอกจากนั้นลำไส้ก็เริ่มพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วในท้องน้อย ไตก็จะเริ่มขับของเสียออกจากกระเพาะปัสสาวะได้ ระหว่างนั้นระบบประสาทเส้นต่างๆในสมองก็จะเริ่มเชื่อมโยงหากันมากขึ้นเรื่อยๆ ตาจะเริ่มเคลื่อนที่จากด้านข้างไปอยู่ด้านหน้าใกล้เคียงตำแหน่งที่ถูกต้อง หูก็เริ่มขึ้นมาประจำตำแหน่ง ขนาดตัวของเขาจากหัวถึงขาช่วงนี้วัดได้ประมาณ 2 นิ้ว และน้ำหนักก็เพิ่มขึ้นมาเป็น 14 กรัม

พัฒนาการทารกในครรภ์ 13 สัปดาห์

เริ่มมีลายนิ้วมือขึ้นที่นิ้วมือเล็กๆของเขาแล้ว เส้นเลือดดำและอวัยวะต่างๆเริ่มมองเห็นชัดขึ้นผ่านผิวหนังบางๆ ความยาวของลำตัวจะเริ่มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และไล่ตามความยาวของส่วนหัวมากขึ้นแล้วค่ะ ถ้าทารกเป็นผู้หญิงร่างกายของเขาจะเริ่มผลิตไข่มากกว่า 2 ล้านใบในรังไข่ ตอนนี้ถ้าวัดความยาวของตัวก็จะใกล้เคียง 3 นิ้วหรือเท่าๆกับกุ้งขนาดกลาง ส่วนน้ำหนักก็ใกล้หนึ่งออนซ์เข้าไปทุกทีแล้วค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 14 สัปดาห์

ใน 7 วันนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงมากมายเกิดขึ้นกับทารก เขาจะเริ่มกระพริบตา ขมวดคิ้ว ทำหน้าตาบู้บี้ เริ่มฉี่ และดูดนิ้วได้แล้ว ส่วนสมองก็จะเริ่มมีการกระตุ้น กล้ามเนื้อบนหน้าก็จะเริ่มมีการเคลื่อนไหวได้เล็กน้อย ไตก็เริ่มผลิตปัสสาวะได้ และขับปัสสาวะออกมาทิ้งภายในถุงน้ำคร่ำเช่นกัน และจะเป็นแบบนั้นจนกว่าเขาจะคลอดออกมา
นอกจากนั้นทารกจะเริ่มทำท่าเหมือนบิดขี้เกียจมากขึ้น ตอนนี้ตัวของเขายาวประมาณ 3 ½ นิ้วแล้ว และน้ำหนักก็เพิ่มเป็น 42 กรัมเช่นกัน ช่วงนี้ลำตัวจะเริ่มพัฒนาเติบโตได้เร็วกว่าช่วงหัวค่ะ เริ่มมองเห็นลำคอชัดเจนขึ้น ปลายสัปดาห์นี้มือของเขาจะยาวขึ้นขนาบไปกับช่วงลำตัว ส่วนขาก็จะยาวขึ้นเช่นกัน เส้นผมก็เริ่มนุ่มขึ้น และเริ่มมีขนเล็กๆขึ้นทั่วร่างกาย ส่วนตับก็จะเริ่มสร้างน้ำดี ม้ามก็จะเริ่มผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง ช่วงนี้เราอาจยังไม่ค่อยรู้สึกว่าเขาเริ่มเตะต่อยได้บ้างแล้ว เพราะมือกับเท้าของเขายังเล็กอยู่

พัฒนาการทารกในครรภ์ 15 สัปดาห์

ขนาดความยาวทารกตอนนี้ 4 นิ้วแล้วค่ะ และน้ำหนักก็เพิ่มขึ้นมาเป็น 70 กรัม เขาจะเริ่มหายใจเข้าและออกด้วยการสูดน้ำคร่ำเข้าและออกผ่านปอด ทำให้ปอดมีการสร้างถุงลมขึ้นมาช่วยในเรื่องของการหายใจเพิ่มขึ้น ช่วงขาเริ่มยาวกว่าแขนนะคะ และเริ่มขยับข้อต่อของแขนขาได้ด้วยเช่นกัน แต่หนังตายังคงปิดสนิทเหมือนเดิม แต่จะเริ่มรับรู้เกี่ยวกับแสงได้แล้วค่ะ ถ้าเราส่องไฟฉายไปที่ท้องของเรา ทารกก็จะพยายามหนีห่างจากแสงนั้นได้ ส่วนใครที่ลุ้นมาตลอดว่าลูกเราจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงกันแน่ สัปดาห์นี้ไปพบคุณหมอเพื่อทำอัลตราซาวน์รับรองว่าได้รู้ความจริงที่ลุ้นมาตลอดแน่นอนค่ะ แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าตัวเล็กของเราจะหันมุมไหนออกมาอวดคุณแม่คุณพ่อนะคะ ถ้าภาพที่ถ่ายเอาไว้เป็นมุมที่เจ้าตัวเล็กบังเพศของตัวเองเอาไว้ล่ะก็ เราก็อาจจะต้องอดใจรอต่อไปค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 16 สัปดาห์

ทารกในช่วงนี้กำลังเติบโตเต็มที่เลยค่ะ อีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้เขาจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว ก็เท่ากับว่าตัวของเขาก็จะยาวขึ้นกว่าเดิมเช่นกัน ตอนนี้ทารกมีขนาดพอๆกับผลอะโวคาโด หรือ ประมาณ 4 ½ นิ้วจากหัวถึงก้น และมีน้ำหนัก 98 กรัม ขาของเขาจะเริ่มสมบูรณ์ขึ้นเรื่อยๆ ส่วนหัวก็จะตั้งตรงกว่าเดิมมากขึ้นส่วนตาของเขาจากที่เคยอยู่ด้านข้างก็จะเคลื่อนมาด้านหน้าขึ้นเรื่อยๆ หูของเขาก็เริ่มอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง หนังศีรษะก็เริ่มขึ้นมา ถึงแม้ปอยผมจะยังไม่พร้อมขึ้นก็ตาม เล็บเท้าก็เขาก็เริ่มยาวขึ้น ช่วงสัปดาห์นี้หัวใจของเขาสามารถสูบฉีดโลหิตได้ประมาณ 52 ลิตรต่อวัน และยังดูเหมือนว่าจะมีการสูบฉีดโลหิตที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆตามพัฒนาการของทารกค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 17 สัปดาห์

กระดูกอ่อนๆ ของทารกกำลังแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ มีการเชื่อมต่อระบบต่างๆกับรกมากขึ้น น้ำหนักเขาตอนนี้ 140 กรัม ส่วนตัวก็ยาวขึ้นเป็น 5 นิ้วแล้วเช่นกัน เขาสามารถขยับข้อต่อต่างๆ และต่อมเหงื่อก็เริ่มสร้างขึ้นแล้วค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 18 สัปดาห์

ทารกของเราขนาดตัวยาว 5 ½ นิ้วแล้ว และน้ำหนักก็เพิ่มขึ้นมาเป็น 196 กรัม แขนและขาเริ่มขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวได้มากขึ้นกว่าเดิม และจะเริ่มขยับตัวได้มากขึ้นเรื่อยๆ หลังจากนี้เป็นต้นไปจะเริ่มมองเห็นริ้วเส้นเลือดฝอยบางๆผ่านผิวหนังบางๆของเขา หูก็ค่อยๆขยับมาอยู่ในตำแหน่งที่สมบูรณ์มากขึ้น และหัวก็เริ่มเงยขึ้นมาตรงมากขึ้น ระบบประสาทจะสร้างสารไขมันมาหุ้มใยประสาทต่างๆ และจะเริ่มพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ อีกเป็นปีหลังจากคลอดออกมาแล้ว ถ้าทารกของเราเป็นผู้หญิงร่างกายก็จะเริ่มสร้างมดลูกขึ้นมา แต่ถ้าทารกเป็นเด็กผู้ชายอวัยวะเพศของเขาก็จะเริ่มเห็นเป็นรูปร่างชัดเจนขึ้นค่ะ (แต่ถ้าเขาขี้เล่นหน่อยอาจจะแอบซุกซ่อนเอาไว้ไม่ให้เราเห็นได้ตอนทำอัลตราซาวน์ก็ได้นะคะ)

พัฒนาการทารกในครรภ์ 19 สัปดาห์

ระบบประสาทของทารกเริ่มพัฒนามากขึ้น สมองส่วนที่เกี่ยวกับการดมกลิ่น การลิ้มรสการได้ยิน การมองเห็น และการสัมผัสเริ่มเกิดขึ้น ผลการวิจัยหลายๆ ชิ้นยืนยันได้ว่าทารกเริ่มได้ยินเสียงของเราแล้วด้วยค่ะ เพราะฉะนั้นคุยกับลูกบ้างนะคะ เวลาคุยกับลูกก็คุยด้วยเสียงดังๆ หรือไม่ก็อ่านหนังสือให้เขาฟัง และร้องเพลงให้ลูกฟังบ้างก็ไม่เห็นจะแปลกตรงไหนนะคะ
น้ำหนักตอนนี้ของเขาประมาณ 238 กรัม และตัวยาวประมาณ 6 นิ้วได้แล้วจากหัวถึงก้น แขนและขาก็เริ่มมีขนาดสมส่วนมากขึ้น เมื่อเทียบกับส่วนอื่นๆของร่างกาย ไตยังคงผลิตปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง ส่วนขนอ่อนๆ เส้นผม และหนังศีรษะก็เริ่มขึ้นมาแบบหรอมแหร็ม และที่ผิวหนังก็มีเหมือนขี้ผึ้งบางๆคอยเคลือบที่ผิวหนังอีกชั้นเพื่อป้องกันกรดต่างๆที่อยู่ในรกและยังช่วยป้องกันการกระแทกกับของแข็งๆในมดลูกด้วยค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 20 สัปดาห์

ช่วง 20 สัปดาห์แรกเป็นช่วงเวลาที่เท้าของเขายังงออยู่เลยทำให้วัดความยาวของตัวยากหน่อยส่วนใหญ่ก็เลยวัดจากหัวถึงก้นแทน หลังจากสัปดาห์นี้เป็นต้นไปจะสามารถวัดความยาวได้ตั้งแต่หัวจนถึงเท้าเลยค่ะ ทารกหัดกลืนได้มากขึ้นทุกวัน ซึ่งดีกับเขาเพราะเท่ากับการการฝึกระบบเกี่ยวกับการย่อยให้ดีขึ้นเรื่อยๆ และยังเป็นช่วงที่เขาจะเริ่มขับถ่ายเป็นครั้งแรก เพราะในลำไส้จะมีการรวมตัวกันของเซลล์ที่ตายแล้ว อึก่อนแรกของเขาจะออกมาเป็นสีดำ เหนียวๆ เพราะมาจากสิ่งที่สะสมอยู่ในตับไตไส้พุงของเขามาตั้งแต่แรกเกิด

พัฒนาการทารกในครรภ์ 21 สัปดาห์

ทารกของเราตอนนี้ชอบการเตะ ต่อยเป็นที่สุด อย่าแปลกใจที่เขาขยับตัวบ่อยขึ้นกว่าเดิม เพราะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายของเขากำลังเคลื่อนไหวได้คล่องตัวมากขึ้นช่วงนี้คิ้วและเปลือกตาของเขาก็เติบโตเต็มที่แล้วค่ะ ถ้าเจ้าตัวเล็กของเราเป็นผู้หญิงแน่นอนว่าเพศของเขาก็จะเห็นชัดเจนขึ้นด้วยเช่นกัน

พัฒนาการทารกในครรภ์ 22 สัปดาห์

ตัวทารกจะยาว 11 นิ้ว และน้ำหนักก็เพิ่มขึ้นมาประมาณ ½ กิโลกรัม ในสัปดาห์นี้ค่ะรูปร่างหน้าตาของเจ้าตัวเล็กตอนนี้ค่อนข้างสมบูรณ์มากแล้ว ริมฝีปาก เปลือกตา คิ้วเห็นชัดเจนขึ้น ฟันซี่เล็กๆก็ขึ้นเป็นตุ่มใต้เหงือกแล้ว ดวงตาเริ่มครบสมบูรณ์แต่สีของตายังบอกไม่ได้แน่นอนว่าเป็นสีอะไร ขนอ่อนๆเริ่มขึ้นทั่วร่างกายของเขา ส่วนผิวหนังจะดูเหี่ยวย่น แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ไขมันที่สะสมอยู่ใต้ผิวหนังมีจำนวนมากขึ้น ผิวของเขาก็จะกลับมาเรียบเนียนเหมือนปกติได้ ส่วนตับอ่อนเริ่มผลิตสารที่เป็นประโยชน์กับร่างกายมากขึ้น

พัฒนาการทารกในครรภ์ 23 สัปดาห์

ช่วงนี้ทารกของเรากำลังสนุกกับเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น ถึงกับรู้ด้วยว่าตอนนี้คุณแม่อย่างเรากำลังเต้นอยู่ได้ด้วย ระยะนี้เขาอาจจะกระดุกกระดิกตัวเพิ่มขึ้น ระบบเส้นเลือดต่างๆก็พัฒนา เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการหายใจในอนาคต และเขาก็เริ่มได้ยินเสียงที่ดังมากขึ้นได้เช่นกัน เป็นการเตรียมพร้อมก่อนออกจากรกไปสู่โลกภายนอกนั่นเอง

พัฒนาการทารกในครรภ์ 24 สัปดาห์

สัปดาห์นี้เขาน้ำหนักเพิ่มขึ้นมาอีก 112 กรัม และขนาดตัวก็ยาวใกล้เคียงหนึ่งฟุตแล้ว แต่ตัวของทารกจะเริ่มผอมลง เพราะตัวยืดขึ้นแต่ไม่ต้องห่วงค่ะ เดี๋ยวเขาก็จะตัวโตขึ้นได้เอง สมองของเขากำลังเติบโตก้าวหน้าอย่างรวดเร็วสามารถรับรู้รสชาติต่างๆได้แล้ว ปอดของเขาก็กำลังแบ่งเซลล์ต่างๆแตกกิ่งก้านออกไปเหมือนต้นไม้ ซึ่งก็จะทำให้ถุงลมของเขาเตรียมพร้อม สำหรับการก้าวออกไปสู่โลกในอนาคต ส่วนผิวหนังของเขาก็ยังบางและดูโปร่งแสงอยู่ดีค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 25 สัปดาห์

เวลานี้ผิวหนังที่เคยเหี่ยวย่นของเขาก็ค่อยๆเรียบตึงขึ้น ดูหน้าตาแล้วก็ใกล้เคียงกับทารกแรกเกิดค่ะ เส้นผมก็ยังขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเห็นความแตกต่างของสีและความละเอียดได้แล้ว

พัฒนาการทารกในครรภ์ 26 สัปดาห์

ระบบประสาทต่างๆภายในหูของทารกเริ่มพัฒนาดีขึ้นเรื่อยๆกว่าช่วงก่อน ถึงขนาดสามารถแยกแยะได้ว่าอันนี้เสียงคุณแม่ อันนี้เสียงคุณพ่อในเวลาคุยกันได้ด้วย การหายใจเข้าออกระหว่างที่อยู่ในถุงน้ำคร่ำของเขายังแผ่วเบาอยู่ แต่การฝึกนี้จะช่วยเตรียมพร้อมสำหรับการหายใจทางปอดในอนาคตของเขาได้ และยังช่วยให้เขาเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการหายใจสูดอากาศเข้าและออกครั้งแรกหลังจากคลอดออกมาใหม่ๆได้ด้วยนะคะ ถ้าทารกเป็นเด็กผู้ชายอัณฑะจะถูกห่อหุ้มไว้ด้วยถุงอัณฑะซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 2-3 วันถึงจะสมบูรณ์ค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 27 สัปดาห์

สัปดาห์นี้ทารกน้ำหนักขึ้นมาเกือบ 1 กิโลกรัมแล้ว และตัวก็ยาว 14 ½ นิ้ว ช่วงนี้เขาเริ่มตื่นและนอนตามเวลาของเขาเอง เริ่มลืมและหลับตาได้ด้วยเช่นกันค่ะ และบางทียังดูดนิ้วเหมือนเมื่อหลายสัปดาห์ก่อนหน้านี้ เนื้อเยื่อในสมองเริ่มพัฒนามากขึ้นและค่อนข้างจะรับรู้สิ่งต่างๆได้รวดเร็วขึ้นด้วยค่ะ ปอดก็เริ่มทำงานตามระบบมากขึ้นและบางทีเราอาจจะรู้สึกได้เวลาที่ทารกสะอึกซึ่งก็เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้นะคะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 28 สัปดาห์

ทารกเริ่มกะพริบตาได้แล้ว แล้วก็เริ่มมองเห็นได้ลางๆตั้งแต่อยู่ในมดลูกด้วยค่ะ ส่วนเซลล์ประสาทเป็นล้านล้านเซลล์พัฒนาขึ้นในสมอง ตัวของเขาจะเริ่มอ้วนขึ้นกว่าเดิม เพื่อเตรียมสำหรับการออกมาสู่โลกภายนอก

พัฒนาการทารกในครรภ์ 29 สัปดาห์

ในช่วงนี้กล้ามเนื้อต่างๆ และปอดของทารกกำลังเติบโตเต็มที่ ตอนนี้หัวของเขาใหญ่ขึ้นอีกนิดหน่อย เพื่อจะได้กันพื้นที่สำหรับสมองที่ขยายตัวขึ้น ช่วงนี้ร่างกายของเขากำลังต้องการสารอาหารที่จำเป็นต่อการเติบโตมากมายและอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโปรตีน วิตามินซี กรดโฟลิค และธาตุเหล็ก เพราะกระดูกกำลังต้องการแคลเซียมถึง 250 มิลลิกรัมทุกวัน เพื่อให้กระดูกแข็งแรงมากขึ้น เพราะฉะนั้นคุณแม่อย่าลืมดื่มนมที่มีส่วนผสมของแคลเซียมให้เพียงพอด้วยนะคะ และนอกจากนมแล้วคุณแม่อาจทานอาหารอื่นๆ ที่มีแคลเซียมที่จำเป็นกับร่างกาย เช่น ชีส โยเกริ์ต น้ำส้ม เพิ่มเข้าไปด้วยได้นะคะ เพื่อร่างกายที่แข็งแรงของทารกค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 30 สัปดาห์

ตอนนี้ทารกจะตัวยาวได้ 15.7 นิ้ว และน้ำหนักก็ราวๆ 1.5 กิโลกรัม เปลือกตาของเขากำลังพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ แต่ยังคงปิดตาอยู่ แต่เมื่อไหร่ที่ลืมตาขึ้นก็สามารถรับแสงได้ค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 31 สัปดาห์

ช่วงนี้ทารกจะสามารถขยับหัวหมุนไปด้านข้างได้แล้ว ส่วนแขนและขาและตัวก็เริ่มมีไขมันสะสมมากขึ้น ทำให้ผิวไม่ค่อยเหี่ยวย่นเหมือน ในสัปดาห์นี้เขาจะเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายได้คล่องแคล่วมากขึ้น เพราะฉะนั้นเขาอาจจะกวนเวลานอนของเราได้บ้างด้วยการเตะและกลับตัวขึ้นๆลงๆบ้าง แต่อย่าเบื่อเขาเลยนะคะ ยิ่งลูกดิ้นลูกเตะมากแค่ไหนก็แปลว่าเขาแข็งแรงมากขึ้นเท่านั้น คุณแม่ต้องอดทนนะคะในช่วงนี้

พัฒนาการทารกในครรภ์ 32 สัปดาห์

ตอนนี้ทารกมีน้ำหนักรวม 1.7 กิโลกรัม และขนาดตัวก็ยาว 16.7 นิ้ว เพราะฉะนั้นก็แปลว่าตัวทารกจะเริ่มอึดอัดบ้าง เวลาอยู่ในมดลูกเพราะพื้นที่ว่างด้านในเริ่มมีน้อยลง ตอนนี้เล็บมือเล็บเท้า และเส้นผมเริ่มขึ้นอย่างเต็มที่แล้ว ผิวหนังก็เริ่มนุ่มและเรียบเนียนขึ้น

พัฒนาการทารกในครรภ์ 33 สัปดาห์

ทารกของเราโตขึ้นเรื่อยๆ น้ำหนักตัวของเขาสัปดาห์นี้หนักมากกว่า 2 กิโลกรัมแล้ว และตัวก็ยาวถึง 17 นิ้ว ตอนนี้ผิวหนังของเขาไม่เหี่ยวย่นแล้ว เพราะมีไขมันเข้าไปสะสมที่ใต้ผิวหนังมากขึ้น ส่วนกระดูกก็แข็งแรงและเชื่อมต่อกันมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะเป็นการเตรียมพร้อมถ้าต้องคลอดด้วยวิธีธรรมชาตินั่นเองค่ะ นอกจากนั้นส่วนต่างๆในสมองและเนื้อเยื่อต่างๆก็พัฒนาเติบโตไปเรื่อยๆเช่นกันค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 34 สัปดาห์

ไขมันเริ่มสะสมอยู่ใต้ผิวหนังมากขึ้นเป็นการเตรียมพร้อมให้เจ้าตัวเล็กรู้สึกอบอุ่น ตอนออกไปเจอโลกกว้าง และแน่นอนว่าไขมันที่ว่าก็ช่วยทำให้ผิวเหี่ยวๆของเจ้าตัวเล็กเรียบตึงขึ้นด้วยค่ะ ระบบประสาทส่วนกลางและปอดเริ่มพัฒนาจนเกือบสมบูรณ์ ซึ่งจริงๆแล้วทุกอย่างดูเตรียมพร้อมสำหรับการออกมาดูโลกกว้างของเขาอย่างเต็มที่แล้ว เพราะปกติแล้วผู้หญิงเราจะพร้อมคลอดในช่วงสัปดาห์ที่ 34-37 นั่นเองค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 35 สัปดาห์

ช่วงนี้พื้นที่ว่างในมดลูกเริ่มมีน้อยลงมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะทารกของเราเติบโตเต็มที่พร้อมออกมาเจอกับคุณแม่แล้วค่ะ ช่วงนี้ในมดลูกจะทำให้เจ้าตัวเล็กรู้สึกอบอุ่น เขาก็เลยไม่ค่อยกลับตัวเท่าไหร่แต่ยังเตะจำนวนเท่าเดิม ไตก็พัฒนาจนสมบูรณ์แล้ว และตับก็สามารถขับถ่ายของเสียออกมาได้แล้ว เรียกว่าตอนนี้ร่างกายของเขาทั่วๆไปค่อนข้างสมบูรณ์แล้ว

พัฒนาการทารกในครรภ์ 36 สัปดาห์

ในช่วงตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์ น้ำหนักของทารกยังขึ้นอีกเล็กน้อย เส้นผมตอนนี้ขึ้นมาทั่วศีรษะแล้ว รวมทั้งขนอ่อนๆทั่วร่างกายด้วยค่ะ ผิวหนังยังเหมือนมีขี้ผึ้งบางๆเคลือบอยู่เพื่อป้องกันผิวของเขาหลังจากคลอดออกมาแล้ว
ปลายสัปดาห์นี้ร่างกายและระบบต่างๆของทารกก็จะเติบโตครบสมบูรณ์ (อยู่ระหว่างช่วง 37-42 สัปดาห์ต่อจากนี้) ตอนนี้หัวจะเริ่มคว่ำลง แต่ถ้าเขาไม่ยอมคว่ำลงตามธรรมชาติ คุณหมออาจแนะนำให้เราผ่าท้องคลอดแทนการคลอดแบบธรรมชาตินะคะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 37 สัปดาห์

อวัยวะทุกส่วนของทารกพร้อมสมบูรณ์เตรียมตัวออกมาสู่โลกภายนอกแล้วค่ะ เส้นผมขึ้นเต็มศีรษะ และไม่ต้องแปลกใจถ้าสีผมของเจ้าตัวเล็กจะไม่เหมือนคุณแม่อย่างเรานะคะ เพราะบางทีคุณแม่กับคุณพ่อผมดำแต่เจ้าตัวเล็กเกิดมาผมสีน้ำตาลก็มีค่ะ