การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคพื้นฐานจำเป็นไหม

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคพื้นฐานจำเป็นไหม

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคพื้นฐานจำเป็นไหม

วัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็ก ซึ่งมี 2 ประเภทคือ วัคซีนพื้นฐานที่เด็กจะต้องได้รับ ซึ่งมีดังนี้คือ
แรกเกิด-1 ปี เมื่อทารกคลอด วัคซีนชนิดแรก คือวัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG vaccine) เป็นวัคซีนชนิดเชื้อมีชีวิต ฉีดให้กับทารกแรกเกิดในประเทศทุกคนเพื่อป้องกันการเกิดวัณโรครุนแรง พร้อมกันนี้ ที่แรกคลอดจะฉีดวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบีเข็มที่ 1 รวมเป็น 2 เข็ม ในช่วงหลังคลอด
อายุ 1-2 เดือน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบีเพิ่มอีก 1 เข็ม
อายุ 2 เดือน แนะนำให้พ่อแม่พาลูกมาฉีดวัคซีนป้องกันคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ซึ่งเป็นวัคซีนรวมในเข็มเดียว พร้อมกับให้วัคซีนโปลิโอ ซึ่งมีทั้งแบบหยอดทางปาก (OPV) และแบบฉีด (IPV) ในรูปแบบของวัคซีนแบบฉีดนั้นเป็นชนิดรวมกับวัคซีนป้องกันคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก และอาจรวมกับวัคซีนเยื่อหุ้มสมองอักเสบ HIB ในเข็มเดียวกันเป็นแบบวัคซีนรวม 5 โรค และ 6 โรค
อายุ 4 เดือน ฉีดวัคซีนป้องกันคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก เข็มที่ 2 และหยอด หรือฉีดวัคซีนป้องกันโปลิโอครั้งที่ 2
อายุ 6 เดือน ฉีดวัคซีนป้องกันคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก เข็มที่ 3 และหยอดหรือฉีดวัคซีนป้องกันโปลิโอครั้งที่ 3 รวมทั้งควรได้รับวัคซีนป้องกันตับอักเสบบี เข็มที่ 3
อายุ 9 เดือน ฉีดวัคซีนป้องกันหัด หรือ หัด หัดเยอรมัน คางทูม เข็มที่ 1
อายุ 1 ปี-1 ปี 6 เดือน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกัน 2 ชนิดได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี ชนิดเชื้อตาย จะให้ตอนอายุ 1 ปี และเข็มที่ 2 ห่างกัน 1-4 สัปดาห์ จากนั้นอีก 1 ปี เข็มที่3 เป็นการฉีดกระตุ้นอีกครั้ง และฉีดเข็มสุดท้ายอีก3- 4 ปีถัดมา เท่ากับฉีดรวม 4 เข็ม ส่วนวัคซีนชนิดเชื้อเป็น มีปฏิกิริยาข้างเคียงน้อยกว่า ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 เดือน และกระตุ้นเข็มที่ 2 ในอีก 3 เดือนถึง 1 ปีถัดมา เท่ากับรวม 2 เข็ม แต่ราคาแพงกว่า
อายุ 1 ปี 6 เดือน กระตุ้นฉีดวัคซีนป้องกันคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก เข็มที่ 4 และหยอดหรือฉีดโปลิโอครั้งที่ 4
อายุ 2 ปี -2 ปี 6 เดือน กระตุ้นวัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบเจอี
อายุ 4 ปี ฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก เข็มที่ 5 พร้อมทั้งหยอดหรือฉีดวัคซีนป้องกันโปลิโอครั้งที่ 5 รวมทั้งฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม เข็มที่ 2 และพอเด็กอายุ 10-12 ปี พาลูกมาฉีดวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก (dT)
??????
?????? ***สำหรับพ่อแม่ท่านใด ไม่สามารถพาลูกมารับวัคซีนได้ คุณหมอบอกว่า สามารถเลื่อนได้เล็กน้อย แต่ขอให้มาฉีดกระตุ้นให้ครบตามที่กำหนด***

ส่วนอีกประเภทหนึ่งคือ วัคซีนทางเลือก หรือวัคซีนเสริม คือวัคซีนที่เปิดโอกาสให้กับผู้ปกครองว่าควรฉีดให้ลูกหรือไม่ ตามความจำเป็น ซึ่งมีหลายชนิด อันได้แก่
วัคซีนป้องกันอีสุกอีใส แนะนำให้ในผู้ที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เด็กอายุ 1-13 ปี ให้ 1 เข็ม หรือ 2 เข็ม โดยการให้วัคซีนเข็มที่ 2 ซ้ำที่อายุ 4-6 ปี จะเพิ่มประสิทธิภาพ การป้องกันโรคได้ ถ้าอายุมากกว่า 13 ปี ให้ 2 เข็มห่างกัน 4-8 สัปดาห์
?วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ สาเหตุทำให้เกิดตับอักเสบเฉียบพลัน ทำให้เด็กมีไข้ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องอืด ตัวเหลือง อ่อนเพลีย การติดเชื้ออาจไม่มีอาการ อาการไม่มากจนถึงรุนแรงได้ แต่ก่อนฉีดได้ตั้งแต่อายุ 2 ปี แต่ปัจจุบัน สามารถเริ่มได้ที่อายุตั้งแต่ 1 ปี โดยฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 6-12 เดือน
วัคซีนป้องกันโรคฮิบ หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย HIB (Hemophilus Influenza Bacteria) ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปอดอักเสบ ไซนัสอักเสบ เป็นต้น พบบ่อยที่สุดในเด็กอายุ 2 เดือนถึง 5 ปี ส่วนใหญ่แนะนำให้ในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี โดยฉีดได้ตั้งแต่อายุ 2 เดือน ส่วนจำนวนครั้งที่ฉีดขึ้นกับอายุที่เริ่มฉีด อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันวัคซีน HIB นี้มักอยู่รวมกับวัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก เป็นวัคซีนรวมเข็มเดียวชนิด 5 โรค หรือ 6 โรค แต่ราคาค่อนข้างแพง
?วัคซีนป้องกันเชื้อโรตาไวรัส อันเป็นสาเหตุสำคัญของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในเด็กทั่วโลก ซึ่งยังไม่มีการรักษาจำเพาะ ส่วนใหญ่ก็จะให้การรักษาตามอาการและรักษาแบบประคับประคอง โดยวัคซีนนี้เป็นวัคซีนแบบรับประทาน (หยอดทางปาก) เริ่มให้ได้ตั้งแต่อายุประมาณ 2 เดือน โดยให้ทั้งหมด2-3 ครั้ง ที่ 2, 4 เดือน หรือ 2, 4, 6 เดือน แล้วแต่ชนิดของวัคซีน หรือ สามารถให้ได้ครั้งแรกที่อายุ 6 สัปดาห์ และอายุมากสุดของการให้วัคซีนครั้งแรก คือ 14 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามไม่แนะนำให้ครั้งที่ 2 หรือ 3 ถ้าอายุมากกว่า 32 สัปดาห์ ซึ่งเชื้อโรตาไวรัสนั้น พบบ่อยในช่วงอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี อันเป็นวัยที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากที่สุด เข้าสู่ร่างกายได้ทั้งทางระบบหายใจและทางเดินอาหาร เด็กที่ติดเชื้อจะมีอาการไข้ อาเจียน ถ่ายเหลว และอาจเกิดภาวะขาดน้ำได้ในรายที่รุนแรง และสามารถเป็นได้หลายๆครั้ง แต่อย่างไรก็ดี วัคซีนนี้ป้องกันความรุนแรงของโรคได้ 85-96 เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อรับแล้วก็ยังมีโอกาสเป็นโรคนี้ เพียงแต่ว่าลดความรุนแรงของโรคนั้นจะลดลง?แต่อย่างไรก็ตามวัคซีนนี้ไม่สามารถป้องกันโรคอุจจาระร่วงจากเชื้ออื่นๆ ได้
?วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมค็อกคัส หรือวัคซีนไอพีดี เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อได้บ่อยในเด็กเล็ก ส่วนใหญ่ติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ ในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีเมื่อติดเชื้อมักเข้าสู่กระแสเลือดได้ อาจทำให้เกิดปอดอักเสบ หูอักเสบ ในรายที่เป็นรุนแรงอาจทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ พิการทางสมองหรือเสียชีวิตได้ ทั้งนี้องค์การอนามัยโลกระบุว่า โรคติดเชื้อนิวโมค็อกคัส เป็นสาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิตในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี และสำหรับวัคซีนนี้ให้ได้ตั้งแต่อายุ 2 เดือน สามารถให้พร้อมกับวัคซีนชนิดอื่นได้ ถ้าเริ่มให้ตั้งแต่อายุ 2 เดือน จะให้ทั้งหมด 4 เข็ม ที่ 2, 4, 6 เดือน และ 1 ปี เป็นต้น การให้วัคซีนนี้มีประสิทธิภาพในการลดความรุนแรงของโรคที่ติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดที่บรรจุในวัคซีนเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามวัคซีนนี้ยังมีราคาค่อนข้างแพง
สำหรับการเลือกให้วัคซีนสำหรับเด็กนั้น สำหรับประเภทบังคับควรให้เด็กได้รับในช่วงเวลาที่เหมาะสมตามที่ได้ระบุไว้ แต่วัคซีนทางเลือก ควรดูที่ความสำคัญและความจำเป็นของเด็ก เช่นเด็กที่เคยเป็นอีสุกอีใสแล้วก็ไม่จำเป็นต้องรับวัคซีนป้องกันอีสุกอีใสอีก เป็นต้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น